วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ศาลเจ้าเเม่สองนางพี่น้อง



                                                  ศาลเจ้าเเม่สองนางพี่น้อง
           



              ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ตั้งอยู่บนถนนสำราญชายโขง ริมแม่น้ำโขง เยื้องไปทางทิศเหนือของวัดศรีมงคลใต้ ติดกับด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร ศาลแห่งนี้เดิมเป็นศาลไม้ต่อมาได้มี  การบูรณะเรื่อยมาจนเป็นคอนกรีตดังปัจจุบัน ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องนี้มีเรื่องเล่าขานกันมานานว่าราวปี พ.ศ. 1896 เจ้าฟ้างุ้ม แห่งเมืองล้านช้าง เป็นบุตรเขยกษัตริย์เมืองอินทะปัด ได้พาลูกหลานอพยพตามลำน้ำโขงผ่านเมืองหนองคาย เมืองนครพนม จนถึงเขตเมืองมุกดาหาร แล้วเกิดเรือล่มที่บริเวณปากห้วยมุกทำให้ธิดาสาวทั้งสองคนซึ่งมีพระนามว่า พระนางพิมพา กับพระนางลมพามา สิ้นชีพตักษัย
                           จนกระทั้งปี พ.ศ. 2313 เจ้ากินรีได้มาสร้างเมืองมุกดาหารพร้อมกับได้สร้างโบสถ์วัดศรีมงคลใต้ขึ้น และในขณะก่อสร้าง ได้พบพระเมาลีพระพุทธรูปเหล็กจมอยู่ใต้พื้นดิน (บริเวณศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องในปัจจุบัน) จึงขุดไปประดิษฐาน ณ โบสถ์วัดศรีมงคลใต้ แต่พอรุ่งขึ้น พระพุทธรูปเหล็กองค์นั้น ก็กลับมาประดิษฐานอยู่ที่เดิมที่พบในครั้งแรกอีก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า "พระหลุบเหล็ก" ประกอบกับบริเวณดังกล่าว ทุกวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 จะมีเสียงร่ำไห้ของผู้หญิงสองคน ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเสียงของพระนางพิมพากับพระนางลมพามา และได้แสดงอภินิหารให้ปรากฎอยู่เนืองๆ เจ้ากินรี เจ้าเมืองมุกดาหารได้สืบทราบประวัติแห่งความเป็นมาจึงตั้งศาลขึ้น ณ ที่แห่งนั้น เพื่อให้วิญญาณ ได้สิงสถิต เมื่อ พ.ศ.2315 และได้ขนาน นามว่า "ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง" อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองมุกดาหารโดยทั่วกัน โดยถือเอาเดือนพฤษภาคม ของทุกปีเป็นเดือนที่ทำพิธี เซ่นไหว้และบวงสรวง ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ตั้งแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้




ศาลหลักเมือง


                                                          ศาลหลักเมือง


                 



ศาลหลักเมืองมุกดาหาร ตั้งอยู่บนถนนสองนางสถิตย์ (บริเวณตลาดราตรี) หน้าศาลากลางจังหวัด เป็นที่เคารพสักการะ ของชาวจังหวัดมุกดาหาร ตัวศาลมีลักษณะเป็นแบบทรงไทยจตุรมุข กว้าง 4 เมตร ยาว 7 เมตรมีมุขยื่นออกมา ด้านละ 2 เมตร สูงจากฐานถึงยอดหลังคา 8.45 เมตร บริเวณรอบตัวอาคารเป็นระเบียงยกพื้นสูง 0.85 เมตร ความกว้าง 16 เมตร ยาว 19 เมตร ส่วนเสาหลักเมือง มีลักษณะเป็นเสากลมเกลี้ยงยอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ลงรักปิดทอง มีพิธีบวงสรวงในวันที่ 9 มกราคม ตรงกับวัน "งานรวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขง" เป็นประจำทุกปี  ปัจจุบันงานรวมเผ่าไทยมุกดาหาร มะขามหวานชายโขง ได้เปลี่ยนชื่องานเป็น "งานกาชาดและงานประจำปีจังหวัดมุกดาหาร

วัดบรรพตมโนรมณ์


                                                                 วัดบรรพตมโนรมณ์







                       วัดบรรพตมโนรมณ์  ถ.มุก-ดอนตาล อ.เมือง จ.มุกดาหาร

 ตั้งเมื่อปี พ.ศ.2514 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด พ.ศ.วัดบรรพตมโนรมณ์  ถ.มุก-ด  ประวัติวัดบรรพตมโนรมณ์ ถ.มุก-ดอนตาล ต.ศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.มุกดาหาร ตั้งอยู่บ้านเขามโนรมณ์ หมู่ที่ 5 ติดกับถนนสายมุก-ดอนตาล ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร ประมาณ 2.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 49 ไร่ 3 งาน 68 ตารางวา บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินดินดาน ในปี พ.ศ.2507 ยังเรียกบ้านเขามโนรมณ์ว่า บ้านคำฆ้า จนถึงปี พ.ศ.2513 ได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้น โดยนายคำ ทองศรี เป็นผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านต้องการวัด ได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดบ้านเขามโนรมณ์  จนถึง ปี พ.ศ.2514 ได้ประชุมคณะกรรมการพร้อมด้วยชาวบ้าน มีจิตศรัทธาหาที่ตั้งสำนักสงฆ์ ได้ที่ดินของนายมาย สุวรรณวงศ์ ได้บริจาคดิน จำนวน10 ไร่ แล้วชาวบ้านได้พร้อมใจกัน สร้างกฎิขึ้นมา 1 หลัง โดยมีนายทองคำ และนางแป้ม คำจันทร์ มีจิตศรัทธาบริจาคศาลาการเปรียญ 1 หลัง เมื่อปี พ.ศ.2514 และได้มีพระอุดม กิตติโกมา จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ อยู่ในความดูแลของ หลวงตายอด ยสชาโต ในสมันนั้น ( พระครูอุดมธรรมรักษ์ :พระครูธรรมาภรณ์:พระราชมุกดาหารคณี ) เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองในสมัยนั้น เป็นผู้ดูแล ได้ปรึกษาชาวบ้านว่าจะตั้งชื่อวัด"วัดผาซันยอดเขามโนรมณ์ " ( ปัจจุบันวัดบรรพตม2509อนตาล อ.เมือง จ.มุกดาหาร

วัดศรีมงคลใต้

                                                                    
                                                                 
                                                                   วัดศรีมงคลใต้



วัดศรีมงคลใต้ จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์หลวงพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ใกล้กับ ท่าด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง สร้างขึ้นก่อนตั้งเมืองมุกดาหาร ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด องค์มีขนาดหน้าตักกว้าง2.20 ส่วนสูงเฉพราะองค์ถึงยอดพระเมาลี 2 เมตร สูงจากฐาน 3 เมตรเจ้ากินรีคุมบ่าวไพร่ถากถางอยู่ใกล้ต้นตาลเจ็ดยอด ได้พบพระพุทธรูปสององค์ องค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน องค์เล็กเป็นพระพทธรูปเหล็กอยู่ใต้ต้นโพธิ์ เจ้ากินรีจึงสร้างวัดขึ้นบริเวณนั้นและตั้งชื่อว่า วัดศรีมงคุณ (วัดศรีมงคลใต้ในปัจจุบัน )

เพื่อเป็นมงคลแก่ชาวเมืองและเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปของทั้งสององค์เมือ่อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสองไปไว้ในโบสถ์ รุ่งขึ้นเมื่อพระภิกษุประจำวัดเข้าไปสักการะ ก็ปรากฏว่าไม่พบพระพทธรูปเหล้กเมื่อค้นดูรอบๆ บริเวณวัด พบว่าพระพุทธรูปเหล็กไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ตามเดิม และจมลงในดินเหลือแต่ยอดพระเมาลีเจ้ากินรีจึงสร้างแท่นสักการะบูชาไว้ ณ ที่นั้น และถวายนามว่า “พระหลุบเหล็ก

ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีมงคลใต้ เรียกนามว่า “พระเจ้าองค์หลวง” เป็นพระพทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจวบจนทุกวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัดหลวงปู่จาม



                                                                     วัดหลวงปู่จาม

 
                      

วัดป่าวิเวกวัฒนาราม  ตั้งอยู่บ้านห้วยทราย  หมู่ที่  ๙  ตำบลคำชะอี  อำเภอคำชะอี  จังหวัดมุกดาหาร  สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่  ๓๓  ไร่  อาณาเขต  ทิศเหนือ ประมาณ  ๓๐๐  เมตร จดที่ดิน-ที่สวนชาวบ้าน   ทิศใต้ ประมาณ ๓๕๐ เมตร  จดที่ดินสาธารณประโยชน์-ถนนลาดยาง   ทิศตะวันออก  ประมาณ  ๑๘๐  เมตรจดที่ราชพัสดุ  ทิศตะวันตก  ประมาณ  ๑๓๐  เมตร จดที่สวนชาวบ้าน 
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นโปร่ง หอสวดมนต์ กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นอาคารตึกชั้นเดียว กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๑ หลัง เป็นอาคารไม้ ๖ หลัง และตึก ๕ หลัง มีห้องน้ำประจำกุฏิ โรงครัวสร้างด้วยไม้หนึ่งหลัง ห้องน้ำญาติโยมเป็นเรือนแถว จำนวน ๙ ห้อง
ปูชนียวัตถุ เจดีย์ลักษณะห้ายอด ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๔๔ เมตร เป็นศิลปะประยุกต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกหลายพระองค์ นอกจากนี้มีพระพุทธรูปจำนวนหนึ่ง
 
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ เดิมชื่อ วัดหนองน่อง ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของหมู่บ้านห้วยทราย โดย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์และมีพระปฏิบัติธรรม เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสฺรังสี หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น มาปฏิบัติธรรมต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๘ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้ย้ายสำนักสงฆ์เดิมมาตั้งด้านทิศตะวันตกเพราะบริเวณเดิมเป็นที่ลุ่มมีน้ำ ขังตลอด และได้ตั้งชื่อวัดใหม่เป็นวัดป่าวิเวกวัฒนาราม เพราะบริเวณวัดมีสภาพเหมาะสมกับการปฏิบัติสมณธรรม ต่อมาได้มีพระสงฆ์ซึ่งเป็นพระปฏิบัติวิปัสสนาได้จำพรรษาตลอดมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร 

 

 


 pic_no_103_space.jpg

 
     pic_no_104_space.jpgpic_no_105_space.jpg

 

วัดสองคอน

                                                       

                                                                    วัดสองคอน
          
          วัดสองคอน มีชื่อเต็มว่า สักการะสถานแห่งมรณะสักขี วัดสองคอน หรือในชื่อเดิมว่า วัดพระแม่ไถ่ทาส อยู่ที่ บ้านสองคอน ตำบลโป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรสถานเทิดพระเกียรติบุญราศรีมรณสักขีทั้ง 7 ท่าน ที่ได้พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อครั้งเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในระยะนั้นผู้คนแถบชายแดนจะศรัทธาและนับถือศาสนาคริสต์กันเป็น จำนวนมาก
         
ทางการไทยได้มีคำสั่งให้ชาวบ้าน และมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหลายอย่าง ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงยอมรับว่าจะเลิกแต่ก็ยังนับถือกันแบบลับๆ แต่ก็มีคน 7 คน ซึ่งได้แก่ ซิสเตอร์พิลา ทิพย์สุข (อายุ 31 ปี) ซิสเตอร์คำบาง ศรีคำฟอง (อายุ 23 ปี) นายศรีฟอง อ่อนพิทักษ์ (อายุ 33 ปี) นางพุดทา ว่องไว (อายุ 59 ปี) นางสาวบุดสี ว่องไว (อายุ 16 ปี) นางสาวคำไพ ว่องไว (อายุ 15 ปี) และเด็กหญิงพร ว่องไว (อายุ 14 ปี) ไม่ยอมรับปากกับทางตำรวจว่าจะเลิก ตำรวจจึงนำตัวไปยิงทิ้งเสียทั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 พระสันตปาปาก็ได้ประกาศให้ท่านทั้งเจ็ดคนเป็น "บุญราศีมรณสักขี" ซึ่งหมายถึง คริสตชนผู้ที่ประกอบกรรมดีและพลีชีพเพื่อประกาศยืนยันความเชื่อในพระเจ้าไม่ ยอมละทิ้งศาสนา ปัจจุบัน มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือ มิสซาบูชา ในวันธรรมดา เวลา 6.00 น. และในวันอาทิตย์ เวลา 7.00 น. และในทุกๆ ปี ที่วัดสองคอนจะมีพิธีเฉลิมฉลองรำลึกการสถาปนาแต่งตั้งบุญราศี ณ กรุงโรม วันที่ 22 ต.ค. และพิธีรำลึกบุญราศีสองคอน 16 ต.ค.

นอกจากเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวแล้ว วัดสองคอนยังมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามแปลกตาของตัวอาคาร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2539 ออกแบบโดย ดร.อัชชพล ดุสิตนานนท์ ซึ่งมีลักษณะเด่นที่แสดงถึงความขัดแย้ง เช่น วัสดุก่อสร้างที่ใช้มีทั้งกระจกเรียบและหินทรายหยาบ ต้นไม้ด้านในกำแพงจะมีการจัดแต่ง วางเป็นระเบียบ แต่ต้นไม้ภายนอกกำแพง จะไม่มีการจัดเรียง มีการใช้แสงเงา และรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา จริงจัง แข็งๆ สื่อถึงความเป็นนักรบ ภายในมีโลงแก้วบรรจุหุ่นขี้ผึ้งของบุญราศีทั้งเจ็ดไว้ มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ติดแม่น้ำโขง และในบริเวณ ยังมีบ้านไม้ใต้ถุนสูงเล็กๆ ซึ่งเป็นบ้านพักของซิสเตอร์ที่เสียชีวิตจากครั้งนั้น

วัดศรีบุญเรือง



        ประวัติวัดศรีบุญเรือง อุโบสถวัดศรีบุญเรือง เริ่มสร้าง พ.ศ.2500 สร้างเสร็จ พ.ศ.2509 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา พ.ศ.2513              
ที่ตั้งวัดและอุปจารของวัด วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านศรีบุญเรือง ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร แต่เดิมนั้นมีเนื้อที่ตั้งวัดจำนวน 5 ไร่ 1งาน 76 ตารางวา ที่ดินด้านทิศตะวันออก จดริมแม่น้ำโขง ทิศใต้จดกับหมู่บ้านศรีบุเรือง ทิศตะวันตกติดกับทุ่งนาชึ้งเป็นที่ของนายเลา และที่ของนายใหม่ทิศเหนือ จดหมู่บ้านศรีบุญเรืองเหนือ
        ระยะต่อมา บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป คือเมื่อปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ดำเนินการตัดถนนสำราญชายโขงผ่านที่ดินของวัดศรีบุญเรือง ที่ดินแห่งนี้เลยถูกแงออกเป็นสองแปลง คือแปลงที่ อยู่ติดริมแม่น้ำโขงในขณะนี้ เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด มีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 76 ตารางวา และแปลงที่สองอยู่ทางทิศตะวันตก ของถนนสำราญชายโขง อันเป็นที่ตั้งวัดศรีบุญเรืองในปัจจุบัน มีเนื้อที่จำนวน 4 ไร่ - งาน 84 ตารางวา
        เมื่อปี พ.ศ. 2526 มีประชาชนคุ้มศรีบุญเรือง และพ่อค้าในตลาดมุกดาหาร มีศรัทธาบริจาคปัจยชื้อที่ดิน เพื่อขยายวัดให้กว้างขวางขึ้นอีก จำนวน 2 งาน 92 เศษ 4 ส่วน 10 ตารางวา เกี่ยวกับที่ดินที่เป็นธรณีของสงฆ์ นี้ ยังมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคอีก 1 แปลง คือที่ดินอยู่ไกล้ถนนสายมุกดาหารไปดอนตาล อยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลาง จ.มุกดาหาร ประมาณ 1.5 กม. สะดอกต่อการไป มาของพุทธศาสนิกชน สภาพในปัจจุบัน วัดศรีบุญเรืองอยู่ในระหว่างพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข ทั้งทางวัตถุภายนอก และทางด้านจิตใจของประชาชน

        การสร้างและการบูรณะวัด จากหลักฐานของคนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมา และเอกสารพอเชื่อถือได้ กล่าวไว้ว่า วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดที่ชาวบ้าน สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับการสร้างเมืองมุกดาหาร ( ประมาณ พ.ศ.2310 - 2317 ) เพื่อให้พระธุดงค์ออกจาริกแสวงบุญได้พักอาศัย ในสมัยนั้นพระสงฆ์มีจำนวนน้อย จึงไม่ค่อยจะมีผู้อยู่อาศัยเป็นประจำ วัดห่งนี้จึงเป็นที่พักอาศัยของพระธุดงค์มาโดยตลอด แม้แต่ชื่อก็ยังไม่สามารถจะทราบได้ครั้งต่อมา ( ประมาณ พ.ศ. 2318 ) พระยาจันทร์ศรีอุปราชา ( เจ้ากินรี ) ซึ่งเป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าเมืองคานแรกของเมืองมุกดาหาร ได้ชักนำพวกเจ้านาย ข้าราชการ และชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัด ให้เหมะสมที่จะเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ต่อไป และได้ร่วมกันสร้างอุโบสถพุทธสีมาขึ้นทางด้านหน้าของวัด และเมืออุโบสถพุทธสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า -วัดศรีบุญเรือง- ถือได้ว่าวัดศรีบุเรืองเป็นรูปแบบของวัดจริง ๆ ในสมัยที่เจ้ากินรีได้เข้ามาบูรณะและสร้างพระอุโบสถขึ้นนี้เองและท้ายเมือง เมือสร้างวัดหัวเมืองแล้ว (วัดศรีมงคลใต้ ) ก็ควรสร้างวัดท้ายเมือ (วัดศรีบุญเรือง) ด้วย ทั้งนี้เพือให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะบูชาได้โดยทั่วถึง เป็นที่น่าสังเกตุว่า อุโบสถที่เจ้ากินรีได้สร้างขึ้นนั้น หันหน้าไปทางทิศเหนือ (อุโบสถส่วนใหม่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก ) ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าท่านอยากจะสร้างอุโบสถแห่งนี้ไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับตัวท่านเอง เพราะท่านเจ้ากินรีเป็นชาวเหนือเชื้อเจ้า ท่านได้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความจำเป็น จึงได้สร้างอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าถึงแม้ท่านจะจากบ้านเกดเมืองนอนมาท่านก็ยังมีความอาลัยอาวรณ์อยู่

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดภูด่านเเต้

                                                                     
                                 
                                                              
                                                            วัดภูด่านเเต้

วัดพุทโธธัมมธธะโรหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดภูดานแต้ แต่เดิมเป็นเพียงที่พักสำหรับพระธุดงค์กัมมัฎฐาน
สายองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เพื่อเดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม เป็นที่เปลี่ยวและสงัดจึงเหมาะแก่
การทำความเพียร กาลต่อมาเมื่อประชาชนมีจำนวนมากขึ้นได้ใช้เป็นที่ทำมาหากินและเลี้ยงสัตว์
ในบางส่วนประมาณปี พ.ศ. 2511 พระอาจารย์สมพงษ์ ขนฺติโก ได้ธุดงค์ผ่านมาเห็น
เป็นที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐาน ท่านได้อบรมธรรมแก่ประชาชนในวันธัมมสวนะ
แล้วมีผู้เข้ามารักษาศีลอุโบสถ ปฏิบัติธรรมพอเป็นที่พึ่งแก่ประชาชน ประกอบกับที่ท่านได้ระลึก
ถึงคุณของบูรพาจารย์ คือ พระอาจารย์ลีธมฺมธโร ซึ่งเป็นคนอีสาน เมื่ออาจารย์มรณภาพไม่มีโอกาส
ที่จะตอบแทนคุณอาจารย์ได้ จึงดำริที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนอีสานเป็นการตอบแทนคุณของ
ท่านพ่อลีอีกทางหนึ่งด้วย ในระยะแรกเริ่มนั้น เป็นเพียงที่พักสงฆ์ท่านกับโยมแม่ชีประไพ บางโมรา
ซึ่งเมื่อบวชแล้วขอติดตามพระลูกชาย ต่อมามีกุลบุตรเข้ามาบวชมากขึ้นทำให้ที่พักสงฆ์ไม่เพียงพอ
จึงต้องสร้างที่พักเพิ่มขึ้น ส่วนท่านเองได้พักที่ถ้ำสิงโตและได้ขอตั้งเป็นวัดป่านิคมพุทโธธัมมะธะโร
ให้การอบรมธรรมะแก่ประชาชนในเขตอำเภอนิคมคำสร้อยแล้วท่านได้พัฒนาคุณภาพชีวิต
ของคนอีสานด้วยการจัดการศึกษาจากวัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม การศึกษานอกโรงเรียน
โรงเรียนประชาบาล สถานดูแลเด็กเล็ก ช่วยโรงพยาบาล ช่วยสถานีตำรวจ
ช่วยหน่วยงานราชการต่างๆ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยการออกเผยแผ่พุทธรรม
ตามหมู่บ้านในเขตจังหวัดมุกดาหารส่งเสริมพระภิกษุ สามเณร ออกสอนธรรมศึกษา
แก่โรงเรียนต่าง ๆ ในเขตอำเภอนิคมคำสร้อยในระดับประถมมัธยมจนถึงวิทยาลัย
จึงทำให้เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดมุกดาหารโดยส่วนใหญ่ชาวบ้านจะรู้จักในชื่อ“วัดภูดานแต้

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดภูจ้อก้อ


                                                              วัดภูจ้อก้อ





วัดบรรพตคีรี  ตั้งอยู่อำเภอหนองสูงจังหวัดมุกดาหารเป็นวัดธรรมยุตนิกายที่สำคัญ  ตั้งอยู่บนภูก้อจ้อ ซึ่งเป็นภูเขาขนาดย่อมที่สงบสวยงาม  มีลักษณะป่าเบญจพรรณทั้งแนวก้อนหินน้อยใหญ่  วัดแห่งนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของหลวงปู่หล้า เขมปัตตโต  พระป่ากรรมฐานในสายหลวงปู่มั่นที่เคร่งครัดปฏิบัติภาวนาและมอบธรรมเทศนาแก่สาธุชนทั้งหลาย
          
วัดบรรพตคีรีมีความเป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2484  เริ่มแรกพระอาจารย์ขาวได้ธุดงค์มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำภูก้อจ้อแห่งนี้  แล้วชักชวนให้ชาวบ้านแวงพากันสร้างพระพุทธรูปปูนขาวไว้หน้าถ้ำ  จากนั้นก็มีพระกรรมฐานเวียนมาจำพรรษาหลายรูป  จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500  ชาวบ้านแวงได้นิมนต์หลวงปู่หล้า  เขมปัตโต ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่ภูเก้า อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร พร้อมด้วยพระตาล  ชาวบ้านแวงที่เป็นพระบวชใหม่  ให้มาพำนักที่ถ้ำภูก้อจ้อแห่งนี้  หลังจากนั้นชาวบ้านแวงได้ร่วมกันสร้างกุฏิขึ้นบนที่ราบหลังถ้ำ หลวงปู่หล้าได้พัฒนาวัดแห่งนี้ให้เป็นศาสนสถานที่เจริญสติกรรมฐานอันเป็นมรดกทางศาสนาที่สำคัญแห่งภาคอีสาน  และท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดภูก้อจ้อนี้จนห้วงสุดท้ายแห่งชีวิต  และลาสังขารไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2540  สิริรวมอายุได้ 84  ปี 11 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดถ้ำพระภูผาปอง

                                                           วัดถ้ำพระภูผาปอง

วัดถ้ำพระภูผาปอง  อยู่ที่บ้านขัวสูง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง เดิมเป็นสถานที่ที่มีพระพุทธรูปเก่าแก่แต่โบราณ ตามคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมามีว่า ถ้ำแห่งนี้มีพระพุทธรูปอยู่ห้าองค์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านเป็นอย่างมาก และเคยมีผู้มาสำรวจพบว่า มีตัวอักษรขอมอยู่ภายใต้ฐานของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ แปลได้ความว่า  "หมื่นชัยสุทธิสาร" 
            ในเขตวัด มีเจดีย์ อุทัยรัตนเจดีย์ ตั้งอยู่บนยอดเขา
 

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดมโนภิรมย์


                                วัดมโนภิรมย์  วัดมโนภิรมย์ หรือ วัด บ้านชะโนด สร้างขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ...... เดือน ............... พ.ศ. 2230 โดยมีท้าวคำสิงห์ และญาติที่ย้ายมาจากบ้านท่าสะโนประมาณ 30 ครอบครัวเศษ เป็นผู้สร้าง พร้อมกับการตั้งบ้านชะโนดและเมืองมุกดาหาร ณ ป่าชะโนด ใต้ปากห้วยชะโนด ครั้งแรกเรียกชื่อว่า วัดบ้านชะโนด ภายหลังใช้ชื่อว่า “วัดมโนภิรมย์”
บ้านชะโนดและวัดมโนภิรมย์ สร้างขึ้นตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย คือรัชสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งตามประวัติศาสตร์ถือว่า เป็นยุคทองของวรรณกรรม (สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231)
แรกเริ่มสร้างวัดใหม่ๆๆ นั้นอยู่ในระยะที่ตั้งตัวใหม่ เสนาสนะคงมีแต่กุฏิ และศาลาโรงธรรมและรั้ววัดเท่านั้น วัดมโนภิรมย์มาเจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคงเมื่อพ.ศ. 2269 ในขณะที่บ้านชะโนดมีจำนวนครัวเรือนและประชากร
เพิ่มขึ้น มีการส่งบุตรหลานเข้าบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินันมีนักปราชญ์ค้นหาคัมภีร์ตำราตลอดพระไตรปิฏกมา
ไว้ให้ภิกษุสามเณรได้ค้นคว้าศึกษา
ท่านหอ และพระครูกัสสปะ ได้ศึกษาค้นคว้า และบำเพ็ญตนเป็นที่ ี่ปรากฏเลื่องลือจึงโปรดให้เข้าเฝ้า
และกราบทูลเป็นที่พอพระราชหฤทัยครั้นภิกษุทั้งสองถวายพระพรลากลับจึงโปรดเกล้า พระราชทานวัสดุก่อสร้าง
มีอิฐ ปูน เหล็ก แก้ว ทอง และสี พร้อมด้วยนายช่างสถาปัตยกรรมจากราชสำนัก 3 คน คือ โชติ , ขะ , โมข ลงแพ ล่องจากนครเวียงจันทน์มาสร้างโบสถ์ และพัทธสีมาวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด            

ความเป็นมา
สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอนมีเกิดย่อมมีดับมีเจริญย่อมมีเสื่อมฉะนั้นทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
เองตามธรรมชาติก็ดี สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมากก็ดี ย่อมหลีกลี้หนีอนิจจังไปไม่พ้น ดังได้กล่าวในประวัติบ้านแล้วว่า บ้านชะโนดได้รับมหันตภัยจากอัคคีภัยครั้งใหญ่อันเป็นโศกนาฏกรรมและความทรงจำที่ไม่อาจลืมเลือน คือ
เมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2447 เกิดอัคคีภัย ไฟไหม้
บ้านเรือน วัดวาอาราม วอดวายเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ โดยเฉพาะวัดมโนภิรมย์อันมีกุฏิ วิหาร พัทธสีมา ศาลาการเปรียญ ตู้พระไตรปิฏก พระพุทธรูป เรือแข่ง รั้ววัด ตลอด ฆ้อง กลอง ระฆัง ต้องกลายเป็นเถ้าถ่านทั้งสิ้น
พ.ศ.2448 ศรีสุราช และชาวบ้านได้ไปนิมนต์พระบุ นันทวโร จากบ้านท่าสะโนซึ่งเป็นบ้านเดิม มาเป็นผู้นำ
ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ท่านได้นำชาวบ้านซ่อมแซมวัดมโนภิรมย์ อยู่ 6 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อยทุกอย่าง คือ กุฏิ วิหาร พัทธสีม ศาลา รั้ววัด แม้กระทั่งเรือแข่ง ทุกอย่างที่ซ่อมแซมท่านเป็นผู้ที่ซึ้งในศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมมาก เนื่องจาก ท่านเคยมาศึกษาและปฏิบัติอยู่ก่อนแล้วในประการหนึ่ง ประกอบกับท่านมีความพากเพียรพยายาม
เป็นที่ตั้ง การปฏิสังขรณ์จึงสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี และคงไว้ซึ่งศิลปะดั้งเดิม แม้กระนั้นบางสิ่งบางศิลปะ
มิอาจจะกลับฟื้นคืนมาดังเดิมได้ คงเป็นรอยจารึก และภาพแห่งความอาลัยในศิลปะดั้งเดิมเมื่อพบเห็น