วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดภูด่านเเต้

                                                                     
                                 
                                                              
                                                            วัดภูด่านเเต้

วัดพุทโธธัมมธธะโรหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดภูดานแต้ แต่เดิมเป็นเพียงที่พักสำหรับพระธุดงค์กัมมัฎฐาน
สายองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เพื่อเดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม เป็นที่เปลี่ยวและสงัดจึงเหมาะแก่
การทำความเพียร กาลต่อมาเมื่อประชาชนมีจำนวนมากขึ้นได้ใช้เป็นที่ทำมาหากินและเลี้ยงสัตว์
ในบางส่วนประมาณปี พ.ศ. 2511 พระอาจารย์สมพงษ์ ขนฺติโก ได้ธุดงค์ผ่านมาเห็น
เป็นที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐาน ท่านได้อบรมธรรมแก่ประชาชนในวันธัมมสวนะ
แล้วมีผู้เข้ามารักษาศีลอุโบสถ ปฏิบัติธรรมพอเป็นที่พึ่งแก่ประชาชน ประกอบกับที่ท่านได้ระลึก
ถึงคุณของบูรพาจารย์ คือ พระอาจารย์ลีธมฺมธโร ซึ่งเป็นคนอีสาน เมื่ออาจารย์มรณภาพไม่มีโอกาส
ที่จะตอบแทนคุณอาจารย์ได้ จึงดำริที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนอีสานเป็นการตอบแทนคุณของ
ท่านพ่อลีอีกทางหนึ่งด้วย ในระยะแรกเริ่มนั้น เป็นเพียงที่พักสงฆ์ท่านกับโยมแม่ชีประไพ บางโมรา
ซึ่งเมื่อบวชแล้วขอติดตามพระลูกชาย ต่อมามีกุลบุตรเข้ามาบวชมากขึ้นทำให้ที่พักสงฆ์ไม่เพียงพอ
จึงต้องสร้างที่พักเพิ่มขึ้น ส่วนท่านเองได้พักที่ถ้ำสิงโตและได้ขอตั้งเป็นวัดป่านิคมพุทโธธัมมะธะโร
ให้การอบรมธรรมะแก่ประชาชนในเขตอำเภอนิคมคำสร้อยแล้วท่านได้พัฒนาคุณภาพชีวิต
ของคนอีสานด้วยการจัดการศึกษาจากวัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม การศึกษานอกโรงเรียน
โรงเรียนประชาบาล สถานดูแลเด็กเล็ก ช่วยโรงพยาบาล ช่วยสถานีตำรวจ
ช่วยหน่วยงานราชการต่างๆ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยการออกเผยแผ่พุทธรรม
ตามหมู่บ้านในเขตจังหวัดมุกดาหารส่งเสริมพระภิกษุ สามเณร ออกสอนธรรมศึกษา
แก่โรงเรียนต่าง ๆ ในเขตอำเภอนิคมคำสร้อยในระดับประถมมัธยมจนถึงวิทยาลัย
จึงทำให้เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดมุกดาหารโดยส่วนใหญ่ชาวบ้านจะรู้จักในชื่อ“วัดภูดานแต้

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดภูจ้อก้อ


                                                              วัดภูจ้อก้อ





วัดบรรพตคีรี  ตั้งอยู่อำเภอหนองสูงจังหวัดมุกดาหารเป็นวัดธรรมยุตนิกายที่สำคัญ  ตั้งอยู่บนภูก้อจ้อ ซึ่งเป็นภูเขาขนาดย่อมที่สงบสวยงาม  มีลักษณะป่าเบญจพรรณทั้งแนวก้อนหินน้อยใหญ่  วัดแห่งนี้เคยเป็นที่จำพรรษาของหลวงปู่หล้า เขมปัตตโต  พระป่ากรรมฐานในสายหลวงปู่มั่นที่เคร่งครัดปฏิบัติภาวนาและมอบธรรมเทศนาแก่สาธุชนทั้งหลาย
          
วัดบรรพตคีรีมีความเป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2484  เริ่มแรกพระอาจารย์ขาวได้ธุดงค์มาปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำภูก้อจ้อแห่งนี้  แล้วชักชวนให้ชาวบ้านแวงพากันสร้างพระพุทธรูปปูนขาวไว้หน้าถ้ำ  จากนั้นก็มีพระกรรมฐานเวียนมาจำพรรษาหลายรูป  จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500  ชาวบ้านแวงได้นิมนต์หลวงปู่หล้า  เขมปัตโต ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่ภูเก้า อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร พร้อมด้วยพระตาล  ชาวบ้านแวงที่เป็นพระบวชใหม่  ให้มาพำนักที่ถ้ำภูก้อจ้อแห่งนี้  หลังจากนั้นชาวบ้านแวงได้ร่วมกันสร้างกุฏิขึ้นบนที่ราบหลังถ้ำ หลวงปู่หล้าได้พัฒนาวัดแห่งนี้ให้เป็นศาสนสถานที่เจริญสติกรรมฐานอันเป็นมรดกทางศาสนาที่สำคัญแห่งภาคอีสาน  และท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดภูก้อจ้อนี้จนห้วงสุดท้ายแห่งชีวิต  และลาสังขารไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2540  สิริรวมอายุได้ 84  ปี 11 เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดถ้ำพระภูผาปอง

                                                           วัดถ้ำพระภูผาปอง

วัดถ้ำพระภูผาปอง  อยู่ที่บ้านขัวสูง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง เดิมเป็นสถานที่ที่มีพระพุทธรูปเก่าแก่แต่โบราณ ตามคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมามีว่า ถ้ำแห่งนี้มีพระพุทธรูปอยู่ห้าองค์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านเป็นอย่างมาก และเคยมีผู้มาสำรวจพบว่า มีตัวอักษรขอมอยู่ภายใต้ฐานของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ แปลได้ความว่า  "หมื่นชัยสุทธิสาร" 
            ในเขตวัด มีเจดีย์ อุทัยรัตนเจดีย์ ตั้งอยู่บนยอดเขา
 

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดมโนภิรมย์


                                วัดมโนภิรมย์  วัดมโนภิรมย์ หรือ วัด บ้านชะโนด สร้างขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ...... เดือน ............... พ.ศ. 2230 โดยมีท้าวคำสิงห์ และญาติที่ย้ายมาจากบ้านท่าสะโนประมาณ 30 ครอบครัวเศษ เป็นผู้สร้าง พร้อมกับการตั้งบ้านชะโนดและเมืองมุกดาหาร ณ ป่าชะโนด ใต้ปากห้วยชะโนด ครั้งแรกเรียกชื่อว่า วัดบ้านชะโนด ภายหลังใช้ชื่อว่า “วัดมโนภิรมย์”
บ้านชะโนดและวัดมโนภิรมย์ สร้างขึ้นตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย คือรัชสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งตามประวัติศาสตร์ถือว่า เป็นยุคทองของวรรณกรรม (สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231)
แรกเริ่มสร้างวัดใหม่ๆๆ นั้นอยู่ในระยะที่ตั้งตัวใหม่ เสนาสนะคงมีแต่กุฏิ และศาลาโรงธรรมและรั้ววัดเท่านั้น วัดมโนภิรมย์มาเจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคงเมื่อพ.ศ. 2269 ในขณะที่บ้านชะโนดมีจำนวนครัวเรือนและประชากร
เพิ่มขึ้น มีการส่งบุตรหลานเข้าบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินันมีนักปราชญ์ค้นหาคัมภีร์ตำราตลอดพระไตรปิฏกมา
ไว้ให้ภิกษุสามเณรได้ค้นคว้าศึกษา
ท่านหอ และพระครูกัสสปะ ได้ศึกษาค้นคว้า และบำเพ็ญตนเป็นที่ ี่ปรากฏเลื่องลือจึงโปรดให้เข้าเฝ้า
และกราบทูลเป็นที่พอพระราชหฤทัยครั้นภิกษุทั้งสองถวายพระพรลากลับจึงโปรดเกล้า พระราชทานวัสดุก่อสร้าง
มีอิฐ ปูน เหล็ก แก้ว ทอง และสี พร้อมด้วยนายช่างสถาปัตยกรรมจากราชสำนัก 3 คน คือ โชติ , ขะ , โมข ลงแพ ล่องจากนครเวียงจันทน์มาสร้างโบสถ์ และพัทธสีมาวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด            

ความเป็นมา
สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอนมีเกิดย่อมมีดับมีเจริญย่อมมีเสื่อมฉะนั้นทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
เองตามธรรมชาติก็ดี สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมากก็ดี ย่อมหลีกลี้หนีอนิจจังไปไม่พ้น ดังได้กล่าวในประวัติบ้านแล้วว่า บ้านชะโนดได้รับมหันตภัยจากอัคคีภัยครั้งใหญ่อันเป็นโศกนาฏกรรมและความทรงจำที่ไม่อาจลืมเลือน คือ
เมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2447 เกิดอัคคีภัย ไฟไหม้
บ้านเรือน วัดวาอาราม วอดวายเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ โดยเฉพาะวัดมโนภิรมย์อันมีกุฏิ วิหาร พัทธสีมา ศาลาการเปรียญ ตู้พระไตรปิฏก พระพุทธรูป เรือแข่ง รั้ววัด ตลอด ฆ้อง กลอง ระฆัง ต้องกลายเป็นเถ้าถ่านทั้งสิ้น
พ.ศ.2448 ศรีสุราช และชาวบ้านได้ไปนิมนต์พระบุ นันทวโร จากบ้านท่าสะโนซึ่งเป็นบ้านเดิม มาเป็นผู้นำ
ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ท่านได้นำชาวบ้านซ่อมแซมวัดมโนภิรมย์ อยู่ 6 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อยทุกอย่าง คือ กุฏิ วิหาร พัทธสีม ศาลา รั้ววัด แม้กระทั่งเรือแข่ง ทุกอย่างที่ซ่อมแซมท่านเป็นผู้ที่ซึ้งในศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมมาก เนื่องจาก ท่านเคยมาศึกษาและปฏิบัติอยู่ก่อนแล้วในประการหนึ่ง ประกอบกับท่านมีความพากเพียรพยายาม
เป็นที่ตั้ง การปฏิสังขรณ์จึงสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี และคงไว้ซึ่งศิลปะดั้งเดิม แม้กระนั้นบางสิ่งบางศิลปะ
มิอาจจะกลับฟื้นคืนมาดังเดิมได้ คงเป็นรอยจารึก และภาพแห่งความอาลัยในศิลปะดั้งเดิมเมื่อพบเห็น