วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วัดนรวราราม


                                                                        วัดนรวราราม

                                               

ประวัติความเป็นมา

วัดนรวนาราม  ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕  ได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ การบริหารและกาปกครอง   มีเจ้าอาวาส  เท่าที่ทราบนามคือ  
รูปที่ ๑ พระปัทถา
รูปที่ ๒ พระสมบัติ
รูปที่ ๓ พระโสม
รูปที่ ๔ พระเขือน
รูปที่ ๕ พระสมญา
รูปที่ ๖ พระพรหม
รูปที่ ๗ พระสุวรรณ
รูปที่ ๘ พระทองพันธุ์
รูปที่ ๙ พระพาล
รูปที่ ๑๐ พระเที่ยง
รูปที่ ๑๑ พระเทือง
รูปที่ ๑๒ พระหลิง
รูปที่ ๑๓ พระบัวพา
รูปที่ ๑๔ พระใส
รูปที่ ๑๕ พระเหมือน
รูปที่ ๑๖ พระทิน
รูปที่ ๑๗ พระเสาะ
รูปที่ ๑๘ พระคำ
รูปที่ ๑๙ พระเกณฑ์
รูปที่ ๒๐ พระชู
รูปที่ ๒๑ พระเขียน
รูปที่ ๒๒ พระครูวรกิจประสุด พ.ศ. ๒๕๒๖
ที่ตั้ง
วัดนรวนาราม  ตั้งอยู่บ้านหนองโอใหญ่  หมู่ที่ ๓ ตำบลโพนยาง  อำเภอหนองสูง  จังหวัดมุกดาหาร  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ อาณาเขต  ทิศเหนือประมาณ ๒ เส้น  จดทางสาธารณะ  ทิศใต้ประมาณ ๒ เส้น  จดทางสาธารณะ  ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้นจดที่ธรณีสงฆ์ มีที่ธรณีสงฆ์  จำนวน ๒ แปลง  เนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน  ๖๓ ตารางวา  อาคารเสนาสนะประกอบด้วย  อุโบสถ  กว้าง  ๖ เมตร  ยาว ๑๒ เมตร  สร้างเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๖๕  ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๒ เมตร  ยาว ๑๕ เมตร  สร้างเมื่อ พ.ส. ๒๕๓๐ ปูชณียวัตถุ  มีพระประธาน  พระพุทธรูปและเจดีย์
   


วัดศรีมุณฑา

                                                                     วัดศรีมุณฑา

ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงในอดีต ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เคยมีชุมชนโบราณอาศัยอยู่ก่อนมานานหลายพันปี  เช่นชุมชนโบราณโดยเฉพาะริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตจังหวัดมุกดาหารจนถึงปัจจุบัน
วัดศรีมุณฑา  บ้านคำฮี  ตำบล  โพนทราย  อ.เมือง จ.มุกดาหาร  เป็นอีกวัดหนึ่งที่ยังคงความเก่าโบราณสถาน ให้คงทนมาจนถึงปัจจุบันมานานนับ 100 ปี  นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าศีกษา ค้นคว้า ที่หลวงปู่ดี วงสุปัญโญ (กงนะ) เกจิอาจารย์สายวิปัสนากรรมฐาน  พระอาจารย์ของ ฯพณฯ จอมพล  สฤษดิ์  ธนะรัฐ  ในสมัยนั้น
               หลวงปู่ดีนอกจากเป็นพระเกจิออาจารย์ชื่อดัง  ในแถบลุ่มน้ำโขง  หลายคนให้ฉายาว่า เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำโขง”  ผู้จาริกบุญเผยแผ่  ธรรมะ  ถือครองในพระปรมัตถ์  วิปัสสนากรรมฐาน  โดยการนั่งภาวนา  ของหลวงปู่ดี  จึงมีพระธุดงค์  เดินวิเวกรุกมูลมาสนทนาธรรมมิได้ขาด
หลวงปู่ดียังเป็นพระนักพัฒนา  ได้สร้างศาลาการเปรียญ  แบบวิจิตรพิศดาร  ด้วยไม้ทั้งหลังโดยไม่ตอกตะปูที่วัดศรีมุณฑา  บ้านคำฮี  ตำบลโพนทราย
เป็นศาลาทรงจุฬามณีมีจตุรมุขทั้ง 4 ทิศ  หลังคามุงกระเบื้อง 4 ชั้น  เป็นศาลาสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  หลังคาสี่เหลี่ยมย่อมุม  แต่งครอบหลังคาลวดลายพญานาคเสาเป็นไม้ขนาดใหญ่  จำนวน  52  ต้น  หัวเสาแต่งแกะสลักด้วยลวดลายโบราณ  บัวคว่ำ  บัวหงาย  ลักษณะเด่นอีกอย่างคือ  หลังคาเป็นเครื่องไม้ประกอบกับลักษณะการเข้าเดือยทั้งหมดศาลาโรงธรรมได้ออกแบบตามจินตนาการเองแบบไทยมอญมีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดมุกดาหาร    ด้วยแบบที่จดจำมาจากการที่เดินทางธุดงค์  วิปัสสนากรรมฐาน  วิเวกรุกมูลไปยังเขต ไทย พม่า และมอญ  เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา
เมื่อปี พ.. 2480 ได้หารือกับชาวบ้านคำฮีและชาวบ้านใกล้เคียง  ขณะนั้นนาย   หลง   กงนะ  ผู้ใหญ่บ้าน  ได้พากันตัดไม้ขนาดใหญ่  ชักลากเพื่อมาทำเสาศาลา  ซึ่งมีมากถึง 52 ต้น  แต่ละต้นมีขนาดเท่ากับ  60 x 60 .. โดยมีชาวบ้าน  โพนทราย บ้านแก่นเต่า บ้านหนองหอยมาช่วยลากเสา  สำหรับดินกระเบื้องมุงหลังคา  ซื้อมาจากฝั่งประเทศลาวราคาแผ่นละ 4 สตางค์  โดยขนใส่เรือข้ามมาทางบ้านบางทราย  แล้วทำเกียวนขนมาอีกทีหนึ่ง  ใช้เวลาก่อสร้างจนแล้วเสร็จอยู่นานถึง7 ปี 7เดือน 7วัน จึงเสร็จสมบูรณ์  ในปี พ.. 2489
ได้จัดให้มีการฉลองศาลาใหญ่  โดยใส่ฉลากฎีกาบอกบุญ  100 หมู่บ้าน  ได้ข้าวเปลือกมาแล้วขายได้ทั้งสิ้นสิ้นจำนวน  700  บาท  สำหรับการฉลองรวม 3 วัน  คืน
หลวงพ่อดี  วงสุปัญโญ  (กงนะ) ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และบูรณปฏิสิงขรที่วัด  ศริมุณฑามานาน  ถึง 90 พรรษา  จนถึง พ..2521 จึงได้ละสังขาร  ด้วยความสงบ  ยังความโศกเศร้าสลดแก่บรรดาศิษย์ยานุศิษย์  ทุกคนทั่วประเทศ
นอกจากนี้ศาลาหลังใหญ่  ยังมีสิ่งที่น่าศึกษาค้นคว้า  ที่หลวงปู่ดี  เขียนจารึกไว้มนใบลานมากมาย  เกี่ยวกับความรู้เรื่องธรรมตำรายาสมุนไพร  หนังสือตำนานทางพุทธศาสนา  มีหลายคนสืบทอดอ่านใบลานที่จารึกไว้เป็นภาษาบาลี ขอม ลาว  และแปลออกมาสอนต่อๆกันมาเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านอีก  พร้อมทั้งเครื่องอัฐบริขารเครื่องมือในการก่อสร้างศาลาการเปรียญแบบโบราณยังคงเก็บไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้สืบทอดกันมาจนปัจจุบัน อีกทางหนึ่งด้วย
       นาย คำพร  สิงห์หาญ  ผอ. สภาวัฒนะธรรมตำบลโพนทราย  กล่าวว่า  ปัจจุบัน  ศาลาการเปรียญแห่งนี้กำลังชำรุดทรุดโทรม  ยังต้องการบูรณะปฎิสังขร อีกหลายแห่งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ และเป็นการแสดงมุฑิตา  แด่หลวงปู่ดี  ผู้ถือเคร่งในพุทธศาสนาบูรณาการจนเกิดความเจริญรุ่งเรืองในอดีตให้คงอยู่สืบทอด  วัฒนะธรรม  จนชั่วลูกชั่วหลานมาจนถึงปัจจุบัน  ให้ดำรง  พุทธศาสนาแก่ขนรุ่นหลังสืบไป.

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วัดศรีมหาโพธิ์




วัดศรีมหาโพธิ์
ตั้งอยู่ที่บ้านหว้านใหญ่ ตำบลหว้านใหญ่ ภายในวัดจะมีโบราณสถานคือ สิมอีสาน(โบสถ์) ที่เก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2459 เป็นสิมที่ผนัง 3 ด้าน ภายในผนังจะมีธูปแต้มหรือ
จิตกรรมฝาผนังเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก และภาพเหตุการณ์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ
เสด็จตรวจหัวเมืองในมณฑลอีสานประทับทั่งอยู่บนเกวียน      ภายในวัดยังมีกุฎิเก่าแก่ซึ่งปัจจุบันทำเป็นห้องสมุดประชาชน สร้างโดยช่างชาวเวียดนาม เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ซึ่งมีซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นรูปโค้ง สวยงามแปลกตา แต่งต่างจากศาลาหารเปรียญทั่วไปของพุทธศาสนา
วัดศรีมหาโพธิ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ชาวอำเภอหว้านใหญ่ เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีสำคัญ
และัประเพณีต่างๆของชาวอำเภอหว้านใหญ่
   บริเวณโดยรอบวัดศรีมหาโพธิ์ มองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำโขงซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง
ประเทศไทย
และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในฤดูแล้งน้ำโขงบริเวณอำเภอหว้านใหญ่แห้งขอด
และจะเกิดเกาะแก่งเล็กน้อยขึ้นตามกลางลำแม่น้ำโขง ประชาชนทั้งสองฝั่งโขงทำไปทำการเกษตรตาม
เกาะแก่งนั้นเพราะ อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ปุ๋ย ทำให้พืชผักเจริญเติบโตเร็วและสวยงาม นอกจากนี้ยังลำน้ำโขงยัง
เป็นแหล่งทำการประมงของชาวอำเภอหนองสูงอีกด้วย