วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดมโนภิรมย์


                                วัดมโนภิรมย์  วัดมโนภิรมย์ หรือ วัด บ้านชะโนด สร้างขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ...... เดือน ............... พ.ศ. 2230 โดยมีท้าวคำสิงห์ และญาติที่ย้ายมาจากบ้านท่าสะโนประมาณ 30 ครอบครัวเศษ เป็นผู้สร้าง พร้อมกับการตั้งบ้านชะโนดและเมืองมุกดาหาร ณ ป่าชะโนด ใต้ปากห้วยชะโนด ครั้งแรกเรียกชื่อว่า วัดบ้านชะโนด ภายหลังใช้ชื่อว่า “วัดมโนภิรมย์”
บ้านชะโนดและวัดมโนภิรมย์ สร้างขึ้นตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย คือรัชสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งตามประวัติศาสตร์ถือว่า เป็นยุคทองของวรรณกรรม (สมเด็จพระนารายณ์เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231)
แรกเริ่มสร้างวัดใหม่ๆๆ นั้นอยู่ในระยะที่ตั้งตัวใหม่ เสนาสนะคงมีแต่กุฏิ และศาลาโรงธรรมและรั้ววัดเท่านั้น วัดมโนภิรมย์มาเจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคงเมื่อพ.ศ. 2269 ในขณะที่บ้านชะโนดมีจำนวนครัวเรือนและประชากร
เพิ่มขึ้น มีการส่งบุตรหลานเข้าบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินันมีนักปราชญ์ค้นหาคัมภีร์ตำราตลอดพระไตรปิฏกมา
ไว้ให้ภิกษุสามเณรได้ค้นคว้าศึกษา
ท่านหอ และพระครูกัสสปะ ได้ศึกษาค้นคว้า และบำเพ็ญตนเป็นที่ ี่ปรากฏเลื่องลือจึงโปรดให้เข้าเฝ้า
และกราบทูลเป็นที่พอพระราชหฤทัยครั้นภิกษุทั้งสองถวายพระพรลากลับจึงโปรดเกล้า พระราชทานวัสดุก่อสร้าง
มีอิฐ ปูน เหล็ก แก้ว ทอง และสี พร้อมด้วยนายช่างสถาปัตยกรรมจากราชสำนัก 3 คน คือ โชติ , ขะ , โมข ลงแพ ล่องจากนครเวียงจันทน์มาสร้างโบสถ์ และพัทธสีมาวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด            

ความเป็นมา
สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอนมีเกิดย่อมมีดับมีเจริญย่อมมีเสื่อมฉะนั้นทุกสิ่งที่เกิดขึ้น
เองตามธรรมชาติก็ดี สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมากก็ดี ย่อมหลีกลี้หนีอนิจจังไปไม่พ้น ดังได้กล่าวในประวัติบ้านแล้วว่า บ้านชะโนดได้รับมหันตภัยจากอัคคีภัยครั้งใหญ่อันเป็นโศกนาฏกรรมและความทรงจำที่ไม่อาจลืมเลือน คือ
เมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2447 เกิดอัคคีภัย ไฟไหม้
บ้านเรือน วัดวาอาราม วอดวายเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ โดยเฉพาะวัดมโนภิรมย์อันมีกุฏิ วิหาร พัทธสีมา ศาลาการเปรียญ ตู้พระไตรปิฏก พระพุทธรูป เรือแข่ง รั้ววัด ตลอด ฆ้อง กลอง ระฆัง ต้องกลายเป็นเถ้าถ่านทั้งสิ้น
พ.ศ.2448 ศรีสุราช และชาวบ้านได้ไปนิมนต์พระบุ นันทวโร จากบ้านท่าสะโนซึ่งเป็นบ้านเดิม มาเป็นผู้นำ
ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ท่านได้นำชาวบ้านซ่อมแซมวัดมโนภิรมย์ อยู่ 6 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อยทุกอย่าง คือ กุฏิ วิหาร พัทธสีม ศาลา รั้ววัด แม้กระทั่งเรือแข่ง ทุกอย่างที่ซ่อมแซมท่านเป็นผู้ที่ซึ้งในศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมมาก เนื่องจาก ท่านเคยมาศึกษาและปฏิบัติอยู่ก่อนแล้วในประการหนึ่ง ประกอบกับท่านมีความพากเพียรพยายาม
เป็นที่ตั้ง การปฏิสังขรณ์จึงสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี และคงไว้ซึ่งศิลปะดั้งเดิม แม้กระนั้นบางสิ่งบางศิลปะ
มิอาจจะกลับฟื้นคืนมาดังเดิมได้ คงเป็นรอยจารึก และภาพแห่งความอาลัยในศิลปะดั้งเดิมเมื่อพบเห็น

                              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น