วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัดศรีบุญเรือง



        ประวัติวัดศรีบุญเรือง อุโบสถวัดศรีบุญเรือง เริ่มสร้าง พ.ศ.2500 สร้างเสร็จ พ.ศ.2509 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา พ.ศ.2513              
ที่ตั้งวัดและอุปจารของวัด วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านศรีบุญเรือง ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร แต่เดิมนั้นมีเนื้อที่ตั้งวัดจำนวน 5 ไร่ 1งาน 76 ตารางวา ที่ดินด้านทิศตะวันออก จดริมแม่น้ำโขง ทิศใต้จดกับหมู่บ้านศรีบุเรือง ทิศตะวันตกติดกับทุ่งนาชึ้งเป็นที่ของนายเลา และที่ของนายใหม่ทิศเหนือ จดหมู่บ้านศรีบุญเรืองเหนือ
        ระยะต่อมา บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป คือเมื่อปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ดำเนินการตัดถนนสำราญชายโขงผ่านที่ดินของวัดศรีบุญเรือง ที่ดินแห่งนี้เลยถูกแงออกเป็นสองแปลง คือแปลงที่ อยู่ติดริมแม่น้ำโขงในขณะนี้ เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด มีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 76 ตารางวา และแปลงที่สองอยู่ทางทิศตะวันตก ของถนนสำราญชายโขง อันเป็นที่ตั้งวัดศรีบุญเรืองในปัจจุบัน มีเนื้อที่จำนวน 4 ไร่ - งาน 84 ตารางวา
        เมื่อปี พ.ศ. 2526 มีประชาชนคุ้มศรีบุญเรือง และพ่อค้าในตลาดมุกดาหาร มีศรัทธาบริจาคปัจยชื้อที่ดิน เพื่อขยายวัดให้กว้างขวางขึ้นอีก จำนวน 2 งาน 92 เศษ 4 ส่วน 10 ตารางวา เกี่ยวกับที่ดินที่เป็นธรณีของสงฆ์ นี้ ยังมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคอีก 1 แปลง คือที่ดินอยู่ไกล้ถนนสายมุกดาหารไปดอนตาล อยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลาง จ.มุกดาหาร ประมาณ 1.5 กม. สะดอกต่อการไป มาของพุทธศาสนิกชน สภาพในปัจจุบัน วัดศรีบุญเรืองอยู่ในระหว่างพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข ทั้งทางวัตถุภายนอก และทางด้านจิตใจของประชาชน

        การสร้างและการบูรณะวัด จากหลักฐานของคนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมา และเอกสารพอเชื่อถือได้ กล่าวไว้ว่า วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดที่ชาวบ้าน สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับการสร้างเมืองมุกดาหาร ( ประมาณ พ.ศ.2310 - 2317 ) เพื่อให้พระธุดงค์ออกจาริกแสวงบุญได้พักอาศัย ในสมัยนั้นพระสงฆ์มีจำนวนน้อย จึงไม่ค่อยจะมีผู้อยู่อาศัยเป็นประจำ วัดห่งนี้จึงเป็นที่พักอาศัยของพระธุดงค์มาโดยตลอด แม้แต่ชื่อก็ยังไม่สามารถจะทราบได้ครั้งต่อมา ( ประมาณ พ.ศ. 2318 ) พระยาจันทร์ศรีอุปราชา ( เจ้ากินรี ) ซึ่งเป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าเมืองคานแรกของเมืองมุกดาหาร ได้ชักนำพวกเจ้านาย ข้าราชการ และชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัด ให้เหมะสมที่จะเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ต่อไป และได้ร่วมกันสร้างอุโบสถพุทธสีมาขึ้นทางด้านหน้าของวัด และเมืออุโบสถพุทธสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า -วัดศรีบุญเรือง- ถือได้ว่าวัดศรีบุเรืองเป็นรูปแบบของวัดจริง ๆ ในสมัยที่เจ้ากินรีได้เข้ามาบูรณะและสร้างพระอุโบสถขึ้นนี้เองและท้ายเมือง เมือสร้างวัดหัวเมืองแล้ว (วัดศรีมงคลใต้ ) ก็ควรสร้างวัดท้ายเมือ (วัดศรีบุญเรือง) ด้วย ทั้งนี้เพือให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะบูชาได้โดยทั่วถึง เป็นที่น่าสังเกตุว่า อุโบสถที่เจ้ากินรีได้สร้างขึ้นนั้น หันหน้าไปทางทิศเหนือ (อุโบสถส่วนใหม่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก ) ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าท่านอยากจะสร้างอุโบสถแห่งนี้ไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับตัวท่านเอง เพราะท่านเจ้ากินรีเป็นชาวเหนือเชื้อเจ้า ท่านได้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความจำเป็น จึงได้สร้างอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าถึงแม้ท่านจะจากบ้านเกดเมืองนอนมาท่านก็ยังมีความอาลัยอาวรณ์อยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น